- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
"พระธาตุพนม" ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ถูกสร้างขึ้นมาเป็นเวลานานกว่า 2,500 ปีมาแล้ว โดยสร้างขึ้นเมื่อสมัย อาณาจักรศรีโคตบูรณ์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 8 ซึ่งมีท้าวพญา 5 องค์ เป็นประธานในการก่อสร้าง ได้แก่
1.พญาจุลณีพรหมทัตต์ ผู้ครอง แคว้นจุลณี เป็นผู้ก่อด้านตะวันออก
2.พญาอินทปัตนคร ผู้ครอง เมืองอินทปัตต์ หรือแคว้นกัมพูชาโบราณ เป็นผู้ก่อด้านใต้
3.พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย
4.พญานันทเสน ผู้ครอง เมืองศรีโคตรบูร เป็นผู้ก่อด้านเหนือ
5.พญาสุวรรณพิงคาร ผู้ครอง เมืองหนองหานหลวง คือจังหวัดสกลนครในปัจจุบัน เป็นผู้ก่อรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี
วัตถุประสงค์ของการสร้างพระธาตุพนมนั้นคือ เพื่อบรรจุ “พระอุรังคธาตุ” หรือ “กระดูกหน้าอก” ของพระพุทธเจ้า ซึ่ง “พระมหากัสสปะ” ได้อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย โดยในชั้นแรกพระธาตุพนมถูกสร้างขึ้นนั้นมีลักษณะเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม มีความกว้างด้านละ 2 วา สูง 2 วา ข้างในเป็นโพรง มีประตูเปิดปิดทั้ง 4 ด้าน ต่อมาจึงได้ทีการก่อสร้างเพิ่มเติม จนมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยม และได้รับการบูรณะซ่อมแซมเรื่อยมาตามกาลเวลา จนกระทั่งเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518 เกิดฝนตกติดต่อกันหลายวัน และมีพายุกรรโชกอย่างแรง จนทำให้พระธาตุพังทลายลงมาทั้งองค์ จึงต้องมีการบูรณะขึ้นมาใหม่ เสร็จสิ้นในปี 2522 และอยู่มาจนปัจจุบัน
"พญานาคราช" ผู้พิทักษ์พระธาตุพนม เกิดขึ้นในยุคที่พระเดชพระคุณท่านพ่อพระธรรมราชานุวัตร(แก้ว กนฺโตกาโส) เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร (พ.ศ.2480-2532) ท่านเกิดเมื่อปี 2450 บรรพชาเป็นสามเณรและอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เมื่อปี 2471 มีนามเดิมว่า แก้ว อุทุมมาลา ท่านเป็นผู้มีความรอบรู้และชอบค้นคว้าวิชาโบราณคดี ประวัติศาสตร์จนได้รับการขนานนามว่า "นักปราชญ์ลุ่มน้ำโขง"
เรื่องราวของพญานาคที่อารักขาพระธาตุพนม เกิดขึ้นในสมัยท่าน "พ่อแก้ว อุทุมมาลา" ในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส โดยเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นในเวลาตี 2 ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ 2500 คืนนั้นฝนตกหนักครึ่งชั่วโมง แล้วก็ตกรินๆ ราว 20 นาที ขณะที่ฝนตกนั้นเกิดฟ้าร้องดังสนั่นแผ่นดินสะเทือน นายไกฮวด ชาวธาตุพนม ได้ออกมารองน้ำฝนที่หน้าร้านของตน เห็นแสงประหลาดเป็นลำงามโตเท่าลำต้นตาลขนาดใหญ่มีสีต่างๆ กันถึงเจ็ดสี พุ่งแหวกอากาศแข่งกันเป็นลำยาวหลายเส้นจากทางด้านทิศเหนือมองเห็นได้แต่ไกล จึงได้ร้องเอะอะขึ้นเรียกภรรยามาดูแสงสีงามประหลาดน่าสะพรึงกลัวขนหัวลุกนั้น พอมาถึงหน้าซุ้มประตูแสงนั้นก็หายเข้าไปในองค์พระธาตุพนม โดยที่ไม่ได้ตาฝาดไปเอง
และต่อมาอีก 2 วันในวันขึ้น 7 ค่ำ เดือนเดียวกัน พระธรรมราชานุวัตร ได้ให้สามเณรทรัพย์นั่งทางในตรวจดูเหตุการณ์ว่าแสงประหลาดเจ็ดสีเท่าลำต้นตาลที่นายไกฮวดเห็นหายเข้าในวัดนี้มีอยู่จริงเท็จแค่ไหน สามเณรทรัพย์เข้าฌานสมาธิอยู่ครู่หนึ่ง สามเณรทรัพย์ก็เข้าไปพบพญานาคราชทั้งเจ็ดเรียงกันเป็นแถวอยู่บริเวณลานพระธาตุลำตัวโตใหญ่เท่าลำต้นตาล มีหงอนแดงน่าสะพรึงกลัวสยองพองหัวเหลือที่กล่าวสามเณรทรัพย์ยืนงงงันอยู่ด้วยความประหลาดใจ พลันประเดี๋ยวพญานาคราชทั้งเจ็ดได้กลับกลายเป็นมาณพ 7 ชาย ทรงเครื่องขาวเรียงกันเป็นแถวอยู่ที่เดิม จะว่าก้มก็มิใช่ อากัปกิรกยาอยู่ระหว่างยืนกับก้มสามเณรทรัพย์สนเท่ห์ใจงงจนพูดอะไรไม่ออก ทันใดมาณพผู้เป็นหัวหน้าได้ร้องถามว่า
"พ่อเณรมีธุระอะไร อย่ากลัว จงบอกมา"
สามเณรงงอยู่มิได้ตอบว่ากระไร ตั้งใจจะกลับกุฏิ พญานาคผู้เป็นหัวหน้าได้พูดขึ้นอีกว่า
"พ่อเณรจะกลับแล้วหรือ ขอไปด้วย จะไปสนทนากับท่านเจ้าคุณ"
พอขาดคำก็เข้าร่างสามเณรทรัพย์ทันทีด้วยจิตอำนาจที่เหนือกว่า สามเณรทรัพย์พลันหมดความรู้สึก วูบไปทันที สักครู่ก็หันมายกมือไหว้ท่านพ่อพระธรรมราชานุวัตร พร้อมพูดว่า
"สวัสดีท่านเจ้าคุณ หม่อมฉันมาสองคืนแล้วมิรู้หรือ"
ท่านพ่อฯรู้สึกแปลกใจและสงสัยจึงถามว่า
"ท่านเป็นใคร?มาจากไหน?
"พวกหม่อมฉันเป็นพญานาคราชทั้งเจ็ด มาจากสระอโนดาตในเทือกเขาหิมาลัย มีนามตามลำดับเป็นมงคลตามอริทรัพย์อันประเสริฐ คือ 1. พญาสัทโทนาคราชเจ้า เป็นประธาน 2 . พญาสีลวุฒินาโค 3. พญาหิริวุฒินาโค 4.พญาโอตตับปะ-วุฒินาโค 5. พญาสัจจะวุฒินาโค 6. พญาจาคะวุฒินาโค 7. พญาปัญญาเตชะวุฒินาโค หม่อมฉันทั้งเจ็ดได้รับบัญชาจากพระอินทราธิราชเจ้าให้มารักษาพระอุรังคธาตุ พวกเทพยดาที่รักษาองค์ธาตุอยู่ก่อนนิสัยไม่ดี อาศัยกิสสินบนและเครื่องเซ่นสรวงของชาวบ้านพวกหม่อมฉันไม่ต้องการอามิสสินจ้างรางวัลของเซ่นสรวงใดๆทั้งนั้นขอแต่น้ำบูชาถ้วยเดียวก็พอใจแล้ว จะอยู่รักษาองค์พระธาตุไปจนกว่าจะสิ้นไปสาสนาพระสมณโคดม”
"พระองค์มาเฝ้ารักษาองพระธาตุพนมนี้ เฝ้าอย่างไร"
"หม่อมฉันพญาสัทโทนาคราชเจ้า รักษาองค์พระธาตุด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พญาศิลวุฒินาโคและพญาหิริวุฒินาโครัษาด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ พญาโอตตัปปะวุฒินาโคและพญาพาหุสัจจะวุฒินาโครักษาด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ พญาจาคะวุฒินาโคและพญาปัญญาเตชะวุฒินาโครักษาด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ"
"พระองค์ต้องการจะให้มีเครื่องเซ่นบูชาอะไรบ้างหรือเปล่า"
"หม่อมฉันขอน้ำเปล่าสักถ้วยหนึ่งก็พอแล้ว ด้วยว่าน้ำนี้เป็นศัญลักษณ์สภาวะของพวกนาคราช คือต้องอาศัยน้าเป็นสื่อปัจจัย ถ้าใครผู้ใดมีจิตรำลึกต้องการจะติดต่อด้วยหม่อมฉันก็ขอให้ตั้งถ้วยน้ำขึ้น แล้วลอยดอกมะลิ จุดธูป 7 ดอก กล่าวอัญเชิญก็สามารถส่งกระแสจิตติดต่อกันได้ทันที"
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น